您现在的位置是:DailyThai > แฟชั่น

【pussy888 เครดิตฟรี】นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่น ตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภค | เดลินิวส์

DailyThai2025-04-04 06:58:12【แฟชั่น】7人已围观

简介วงรับฟังความเห็นการประมูลคลื่น ประสานเสียง ย้ำการประมูลต้องเดินหน้าอย่างเหมาะสมกับอุตสาหกรรม ราคาเป็ pussy888 เครดิตฟรี

วงรับฟังความเห็นการประมูลคลื่น ประสานเสียง ย้ำการประมูลต้องเดินหน้าอย่างเหมาะสมกับอุตสาหกรรม ราคาเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย นักเศรษฐศาสตร์ชี้การชำระ 3 งวด รัฐได้เงินเร็ว ส่งผลดีต่อประเทศ ด้านผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ขอความชัดเจนจาก กสทช เรื่องอนาคตทีวีดิจิทัล เชื่อ 3500 MHz มีประโยชน์ต่อทุกอุตสาหกรรม หากมีการวางแผนล่วงหน้า ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทคลื่นความถี่ของชาติ

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ต้องบอกว่าวันนี้ 1 เม.ย.68 ที่โรงแรมอัศวินแกรนด์คอนเวนชั่นกรุงเทพ ได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ เพราะสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ สำนักงาน กสทช.ได้จัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน850 เมกะเฮิรตซ์ 1500 เมกะเฮิรตซ์ 1800 เมกะเฮิรตซ์ 2100 เมกะเฮิรตซ์ 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 26 กิกะเฮิรตซ์ อีกครั้ง หลังจากที่เคยประชาพิจารณ์ ไปแล้วเมื่อ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

การเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มีด้วยกัน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.คลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล  2.วิธีการประมูล 3.ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price)  4.เงื่อนไขการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่และการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคม 5.เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ดำเนินการเพื่อสังคม และการคุ้มครองผู้บริโภค 6.ประเด็นอื่น ๆ อาทิ ความเห็นเกี่ยวกับคลื่น 3500 MHz หากนำมาประมูลตามแผนแม่บทด้วยนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมและประเทศชาติ

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

นักวิชาการระบุการประมูลรวมทุกคลื่น ทำให้เกิดราคาที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อผู้บริโภค
ดร.ไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการโทรคมนาคม กล่าวว่า การนำย่านความถี่ 2100 MHz ทั้งผืนมาจัดสรรใน คราวเดียวนั้นช่วยให้เกิดการใช้คลื่นความถี่มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าประมูลสามารถวางแผนคลื่นได้ล่วงหน้าช่วยเพิ่มมูลค่า และความต้องการในการใช้งานคลื่น ซึ่งจะให้มีความคุ้มค่า ในการประมูลคลื่นมากกว่าการแยกประมูลไม่เต็มผืน  นอกจากนี้ กสทช. ควรแยกช่วงความถี่คลื่น 2100 MHz จำนวน 3 Slot ที่หมดอายุปี 2568 และ คลื่น 2100 MHz จำนวน 9 Slot ที่หมดอายุปี 2570 ออกเป็นคนละกลุ่มในการประมูลครั้งนี้ เนื่องจากมีความต้องการใช้คลื่นและเวลาเริ่มต้นใช้คลื่นแตกต่างกัน

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ผศ.ดร.ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า หากมีประมูลแยกกัน สำนักงาน กสทช. ก็จะมีต้นทุนและภาระในการจัดประมูลเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งครั้งโดยไม่จำเป็น การประมูลคลื่นล่วงหน้าสามารถทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรคในช่วงเปลี่ยนผ่านตอน ใบอนุญาตเดิมใกล้หมดอายุ นอกจากนี้ การประมูลไม่พร้อมกันจะทำให้มูลค่าคลื่นลดลง เพราะในการประมูลแต่ละครั้ง สำนักงาน กสทช. ต้องมีการตีมูลค่าคลื่นใหม่ตามบริบททางด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนไป ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันใดว่าหากมีการประมูลในปี 2570 จะมีราคาสุดท้ายที่สูงกว่าประมูลพร้อมกันในปี 2568

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ผู้บริโภคย้ำเกรงประมูลแพงจะกระทบค่าบริการ
นายนราพล ปลายเนตร ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า การตั้งราคาคลื่นที่แพงไม่สอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริง จะส่งผลต่อค่าบริการที่อาจจะสูงขึ้น ดังนั้น สำนักงาน กสทช. ไม่ควรกำหนดราคาขั้นต่ำสูงเกินไป การตั้งมูลค่าและราคาคลื่นที่ไม่เหมาะสมสูงหรือต่ำเกินไปจะกระทบโครงสร้างต้นทุนและงบประมาณในการลงทุน ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออัตราค่าบริการและอาจจะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคตได้

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

นายปริวุฒิ บุตรดี ภาคประชาชน อีกท่านระบุว่า สำนักงาน กสทช. ควรจะต้องมีการวางแผนในการกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่นอกเหนือจากการประมูลเพียงอย่างเดียว เช่น อาจจะใช้วิธีการ Beauty Contest ที่ประกวดผลตอบแทนให้ภาครัฐทั้งที่เป็น ส่วนของเงินค่าตอบแทน และในส่วนของ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมการเข้าถึงโครงข่าย โทรคมนาคมให้กับผู้ด้อยโอกาส และในพื้นที่ห่างไกล

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ต้องไม่เอื้อเอกชน ย้ำหลักเกณฑ์การจ่ายเดิม 3 งวด รัฐได้ประโยชน์
ผศ.ดร.ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า สำนักงาน กสทช. ไม่ควรเพิ่มเติมเงื่อนไข 10 งวดๆ ละ 10% ให้กับรายใหม่ เพราะการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดการเข้ามายื่นประมูลโดยไม่ได้หวังจะนำคลื่นความถี่ไปใช้งานจริง แต่มีวัตถุประสงค์อื่นๆ แอบแฝง ในอดีตทาง กสทช. ก็เคยมีบทเรียนในเรื่องนี้มาแล้ว นอกจากนี้ การผ่อนชำระ 3 งวด ก็ทำให้รัฐได้เงินก้อนแรก 50% เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยหลักของ Cashflow แล้วก็ได้เงินค่าประมูลเร็วกว่า มากกว่า ย่อมเป็นผลดีต่อประเทศชาติมากกว่า การที่ผู้เข้าประมูลมีความพร้อมในการชำระเงินค่าประมูล ย่อมแสดงถึงสภาพทางการเงินที่ดีของผู้เข้าประมูล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการทิ้งใบอนุญาตดังเช่นในอดีต

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

เชื่อ 3500 MHz หนุนอุตสาหกรรมฯ แต่ กสทช.ต้องสร้างความมั่นใจ
ดร.ไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการโทรคมนาคม กล่าวย้ำว่า คลื่น 3500 MHz เป็นคลื่น 5G Standard ทั่วโลกแต่ไทยยังไม่นำมาใช้งานในกิจการนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังไม่มีการใช้งานคลื่น 3500 MHz สำหรับ 5G หากมีการนำมาใช้จะสามารถยกระดับความเร็วได้ สูงกว่า 2 Gbps ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเครือข่าย 5.5G ได้ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยทัดเทียมกับประเทศอื่น และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีตลอดจนบริการที่เกี่ยวข้องจาก อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ภาคบริการสาธารณสุขให้กับประชาชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับประชาชนในแขนงต่างๆ เช่น e-commerce เป็นต้น 

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

อ.วรศิริ ผลเจริญ นักวิชาการ กล่าวว่า การใช้งาน 5G บนคลื่นความถี่ 3500 MHz เพิ่มโอกาสในการประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมต่างๆ  การนำคลื่น 3500 MHz มาประยุกต์ใช้อุปกรณ์ต่างๆในระบบ 5G ของภาคเอกชนนั้นจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ที่จะช่วยต่อยอดและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้เกิดผู้พัฒนา Solution บนอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น ทางด้านการแพทย์ ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านโทรเวชกรรม ทางด้านอุตสาหกรรม ช่วยให้เกิดการพัฒนาเกี่ยวกับ Automated Factory Mining ทางด้านอุตสาหกรรม Software/Platform ช่วยให้เกิดการประยุกต์ใช้ AR / VR ตลอดจน Automated vehicle และ Logistic ทางด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ช่วยต่อยอดเรื่อง Sensor และ Alert system เช่น การตรวจจับความร้อนไฟป่า เป็นต้น

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

อ.กรวุฒิ อาศนะ นักวิชาการ กล่าวว่า คลื่น 3500MHz มาใช้พัฒนา 5G ได้เป็นอย่างดีและยังมีผู้ให้บริการ 217 รายจาก 262 รายทั่วโลก (มากกว่า 80%) ได้นำคลื่น 3500MHz มาใช้งาน ซึ่งทำให้คลื่น 3500 MHz มีอุปกรณ์ลูกข่ายรองรับมากที่สุดในกลุ่มเทคโนโลยี 5G

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ทีวีดิจิทัล หนุนประมูล 3500 MHz เตรียมแผนอยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
นายปรเมนทร์ ภักดิ์วาปี อดีตผู้บริหารทีวีดิจิทัล ระบุว่าการใช้งานคลื่น 3500 MHz ร่วมกันระหว่าง 2 อุตสาหกรรม คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ TV ที่รับสัญญาณผ่านจาน ดาวเทียม C-Band จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ  ผลกระทบของสัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากปี 2568-2572 นั้น  หากมีการดำเนินการอย่างมีแบบแผน ทั้งในแง่ของการติดตั้งเสาโทรศัพท์และการสำรวจเพื่อแก้ไขปัญหาสัญญาณรบกวนกันอย่างเป็นระบบ เช่น การสำรวจบ้านเรือนโดยรอบสถานีฐาน ว่ามีจำนวนกี่หลังคาเรือนที่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์กรอง สัญญาณหรือ Filter ก็จะสามารถลดข้อกังวลของผู้รับชม TV ซึ่งน่ามีได้รับผลกระทบไม่มาก และเชื่อว่า กสทช. สามารถ กำหนดเป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วิธีการแก้ไขปัญหาสัญญาณรบกวนให้กับผู้ชนะการประมูลได้

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

นายพีระพัฒ เอกวิทยาสกุล ตัวแทนทีวีดิจิทัล กล่าวว่า คลื่นความถี่ 3500 MHz มีประโยชน์ทั้งด้านทีวีและโทรคมนาคม ซึ่งน่าจะเป็นคลื่นที่มีมูลค่าต่อเศรษฐกิจบ้านเราสูงมาก ดังนั้น จะเห็นว่าทั้งสองอุตสาหกรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้ หากมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบทั้งภาครัฐ หรือ กสทช. และภาคเอกชนทั้งสองอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่นำมา ประมูลในช่วงเวลานี้ เพราะหากพ้นช่วงปี 2572 ไปแล้ว อาจจะไม่มีหลักประกันใดๆ ในการแก้ไขปัญหาสัญญาณ รบกวน หรืออาจจะสายเกินไปในการวางแผนใช้งานคลื่นดังกล่าว หรือเรียกว่า “การเตรียมตัวล่วงหน้า”

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

ทั้งนี้ หลังการรับฟังความคิดเห็นแล้ว จะมีการนำข้อมูลมารวบรวมเพื่อนำเสนอต่อ กสทช.และคาดว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะต้องเลื่อนวันประมูลออกไป 1-2 อาทิตย์ เป็นช่วง ปลายเดือน พ.ค-ต้น เดือน มิ.ย.นี้แทน จากกำหนดวันประมูลเดิม คือ 17-18 พ.ค.68

นักวิชาการหนุนมัดรวมประมูลทุกคลื่นตั้งราคาเหมาะสมไม่กระทบผู้บริโภคเดลินิวส์

很赞哦!(6313)

相关文章

站长推荐